ทีมตัวแทนจากประเทศไทยที่เข้าร่วมการแข่งขัน ABU Robocon 2004 Seoul กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ (2547) , ทีมตัวแทนจากประเทศไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Asia Pacific Robot Contest 2006 Kuala Lumpur ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และได้รับได้รับรางวัลรองชนะเลิศกลับมา , ทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ชิงชนะเลิศอาชีวศึกษา ระดับประเทศ 3 ปีซ้อน(2549-2551) , ทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ 2 ปีซ้อน(2550 , 2551) และทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลได้รับรางวัลหุ่นยนต์อัตโนมัติยอดเยี่ยมจากการแข่งขันหุ่นยนต์ ABU Robot Contest Thailand Championship 2 ปีซ้อน(2550 , 2551) คือ ทีมหอยหลอด จาก วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม (Samutsongkhram Technical College) ทีมหอยหลอด จากวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามเป็นทีมหุ่นยนต์ที่มาจากจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เพียง 65 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ชื่อทีม “หอยหลอด” นั้นได้แนวคิดมาจากชื่อของหอยชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายกับหลอดดูดน้ำ จึงถูกเรียกว่า “หอยหลอด” [The worm shell (Genus Vermetus) ] หอยหลอดนี้เจริญเติบโตเองตามธรรมชาติ มีมากมายตามชายหาดที่ส่วนใหญ่จะเป็นดินเลน และเป็นเรื่องแปลกประหลาดมากที่หอยชนิดนี้มีเฉพาะที่จังหวัดสมุทรสงครามเท่านั้น ดังนั้นหอยหลอดจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสงคราม จนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ว่า “เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.๒ แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม” และเป็นที่มาของชื่อทีมหุ่นยนต์หอยหลอดด้วย ทีมหอยหลอดกำเนิดจากการผลักดันจากท่านอดีต ผู้อำนวยการวิรัช ภักดีโดยการส่งครูแผนกอิเล็กทรอนิกส์(อาจารย์ปิติกร ขำอ่อน)และ แผนกช่างกลโรงงาน(อาจารย์สมชาย สูญสิ้นภัย)เข้าอบรมด้านไมโครโปรเซสเซอร์และด้านเทคนิคงานช่างกลแล้วมาขยายผลโดยการสร้างเป็นหุ่นยนต์กู้ระเบิดบังคับด้วยสายจนครูเกิดความรู้ความชำนาญเพียงพอที่จะถ่ายทอดให้นักเรียนนักศึกษาต่อไป ต่อมาปี 2544 เมื่อกรมอาชีวศึกษา(สำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา)ได้จัดการแข่งขันหุ่นยนต์ชิงชนะเลิศระดับชาติขึ้นทีมหอยหลอดภายใต้การผลักดันของท่านอดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการประสิทธิ์ พึ่งยนต์และหัวหน้าแผนกวิชาช่างอุตสาหกรรมทั้ง 5 แผนก ได้เข้าสู่สนามแข่งขันเป็นครั้งแรก แม้ในการลงสนามแข่งขันในครั้งแรกของทีมหอยหลอดจะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไรนัก ได้เพียงรางวัลชมเชย(ไม่ผ่านเข้ารอบสอง) แต่ทีมงานก็เก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับปรุงเพื่อเข้าแข่งขันในสนามต่อมา ต่อมาปี 2544 เมื่อกรมอาชีวศึกษา(สำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา)ได้จัดการแข่งขันหุ่นยนต์ชิงชนะเลิศระดับชาติขึ้นทีมหอยหลอดภายใต้การผลักดันของท่านอดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการประสิทธิ์ พึ่งยนต์และหัวหน้าแผนกวิชาช่างอุตสาหกรรมทั้ง 5 แผนก ได้เข้าสู่สนามแข่งขันเป็นครั้งแรก ณ อยุธยาพาร์ค จ.พระนครศรีอยุธยา แม้ในการลงสนามแข่งขันในครั้งแรกของทีมหอยหลอดจะไม่ประสบผลสำเร็จเท่าไรนัก ได้เพียงรางวัลชมเชย(ไม่ผ่านเข้ารอบสอง) แต่ทีมงานก็เก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาปรับปรุงเพื่อเข้าแข่งขันในสนามต่อมา ปี 2545 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการแข่งขันหุ่นยนต์ตะกร้อลอดบ่วง ในงาน 61 ปีอาชีวศึกษาวิวัฒน์ ซึ่งจัดที่สำนักพระราชวัง(สนามเสือป่า) ทีมหอยหลอดภายใต้การนำของอาจารย์ปิติกร ขำอ่อน แผนกอิเล็กทรอนิกส์และ อาจารย์สมชาย สูญสิ้นภัย แผนกเทคนิคการผลิต ได้นำนักเรียนนักศึกษาแผนกอิเล็กทรอนิกส์ และแผนกเทคนิคการผลิตเข้าชิงชัยโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการแข่งขันในสนามแข่งขันแรก ผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมหอยหลอดได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลสำคัญที่ผลักดันให้ทีมหอยหลอดสู้ต่อในสนามถัดมา
ปี 2546 ทีมหอยหลอดพัฒนาด้านเทคนิคโครงสร้าง และระบบกลไก โดยการศึกษาจากทีมกล้วยตาก วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ประดิษฐ์หุ่นยนต์เข้าแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ชิงชนะเลิศระดับภาค ประจำปีการศึกษา 2545 ซึ่งจัดโดยกรมอาชีวศึกษา ณ โรงยิมเทศบาลกระบี่ จ.กระบี่ โดยทีมหอยหลอดส่งทีมเข้าแข่งขัน 2 ทีม (ทีมหอยหลอด Again 1 และทีมหอยหลอด Again 2) แม้การแข่งขันในครั้งนี้หุ่นยนต์ของทีมหอยหลอดจะเป็นหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ยังมีขอบกพร่องในหลายจุดเช่นการวางแผนในการแข่งขัน หรือแม้แต่การบริหารจัดการทีม จึงได้รับเพียงรางวัลชมเชย(ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย) ช่วงปลายปี 2546 ทีมหอยหลอดได้เข้าแข่งขันหุ่นยนต์แทร็กเส้นเนื่องในงานวันเยาวชนแห่งชาติ ระดับประเทศซึ่งจัด ณ สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน เพื่อพัฒนาเทคนิคการประดิษฐ์หุ่นยนต์แบบ Line Tracking โดยพบกับทีมต่างๆ จากมหาวิทยาลัย และสถาบันอาชีวศึกษาเกือบ 20 ทีม ปรากฏว่าได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ปี 2547 หลังจากตรวจสอบปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ทีมหอยหลอดได้มีการพัฒนาทีมโดยได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ธวัชชัย หิรัญพต แผนกวิชาช่างยนต์ ซึ่งเข้ามาเสริมทีมในส่วนของการวางแผนการแข่งขัน รวมถึงคุณพรชัย สุมังคละสมบัติที่ยินดีช่วยเหลือในเรื่องงานธุรการ(ผู้จัดการทีม) ทีมหอยหลอดพร้อมแล้วสำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์ตามกติกาที่ถูกออกแบบโดยประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีชื่อกติกาแปลเป็นภาษาไทยว่าการแข่งขันหุ่นยนต์สะพานตำนานแห่งความรัก ในสนามแรกของการแข่งขันเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับภาค(ภาคกลาง) ซึ่งจัดที่บริเวณริมแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร ทีมหอยหลอดที่ออกแบบหุ่นยนต์โดยเน้นความสำคัญไปที่หุ่นยนต์บังคับด้วยมือเป็นหลัก(ยังประดิษฐ์หุ่นยนต์อัตโนมัติไปเก่ง) แต่ก็สามารถชดเชยจุดอ่อนต่างๆ ด้วยการออกแบบเกมส์การแข่งขัน เป็นผลให้สามารถคว้าแชมป์อาชีวศึกษาระดับภาค(ภาคกลาง)มาครองได้สำเร็จ โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งขันชิงชนะเลิศที่เหนือกว่าในส่วนของหุ่นยนต์อัตโนมัตินั่นคือทีม Dragonbot จากวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ เป็นแมทช์การแข่งขันชิงชนะเลิศที่พลิกความคาดหมายและสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อย่างมาก โดยทีมหอยหลอดได้รับการจับตามองในฐานะทีมน้องใหม่ที่เป็นม้ามืดในเขตภาคกลาง จากความสำเร็จที่สามารถคว้าแชมป์อาชีวศึกษาระดับภาค(ภาคกลาง)มาครองทำให้ทีมหอยหลอดมีสิทธิ์เข้าแข่งขันได้ในอีกสองสนามการแข่งขันนั่นคือ การแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์อาชีวศึกษาระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2546 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้อง MCC-Hall ห้างสรรพสินค้า The Mall บางกะปิ ช่วงระยะเวลาคือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ อีกสนามการแข่งขันหนึ่งคือ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2547 ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ของปี 2547 เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนของปีเดียวกัน การเตรียมตัวเพื่อเข้าแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์อาชีวศึกษาระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2546 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้อง MCC-Hall ห้างสรรพสินค้า The Mall บางกะปิของทีมหอยหลอดปรากฏปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ประการแรกคือช่วงระยะเวลาที่แข่งขันตรงกับกำหนดวันแต่งงานของหัวหน้าทีมหอยหลอดคืออาจารย์สมชาย สูญสิ้นภัย ซึ่งอุทิศเวลาให้กับการแข่งขันหุ่นยนต์จนวินาทีสุดท้าย อุปสรรคที่สำคัญข้อที่สองคือช่วงระยะเวลาที่แข่งขันตรงกับกำหนดวันแข่งขันรถประหยัดพลังงานพอดี เป็นผลให้ทีมหอยหลอดขาดกำลังสำคัญในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการวางแผนการแข่งขัน อุปสรรคสำคัญอีกข้อคือช่วงระยะเวลาที่แข่งขันเป็นช่วงระยะเวลาการซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรของอาจารย์ปิติกร ขำอ่อน ทำให้ทีมหอยหลอดขาดกำลังสำคัญในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านโปรแกรมไปอีกคน แต่ยังมีอาจารย์สรยุทธ อุ่นใจ อาจารย์ประจำแผนกวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่นที่เข้ามาเสริมทีมในส่วนของระบบกลไก ผลงานในแมทช์การแข่งขันนี้ของทีมหอยหลอดจึงไม่อาจถึงจุดสูงสุดของการแข่งขัน แต่สามารถเข้ามายืนอยู่ในตำแหน่ง 8 ทีมสุดท้ายของอาชีวศึกษาระดับประเทศ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2547 ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ของปี 2547 เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ลักษณะของการแข่งขันจะเชิญทีมที่ได้แชมป์ระดับภาคและรองแชมป์อาชีวศึกษาระดับภาค ทั้งหมด 5 ภาครวมทั้งหมด 10 ทีมมาแข่งขันจนได้ตัวแทนอาชีวศึกษา มาแข่งขันหาตัวแทนประเทศไทยกับตัวแทนทีมจากสถาบันอุดมศึกษาซึ่งผ่านการแข่งขันคัดเลือกมาจาก 16 ทีมอุดมศึกษา ทีมหอยหลอดสามารถฝ่าฟันอุปสรรคจนสามารถชิงต่ำแหน่งตัวแทนอาชีวศึกษาได้สำเร็จ โดยการชนะน๊อกเอาท์(ในการแข่งขันกติกานี้จะเรียกว่าการชนะ Reunion)ทีมพรหมมณี จากวิทยาลัยการอาชีพนครนายก ทำให้ทีมหอยหลอดต้องเข้าชิงตัวแทนจากประเทศไทยกับทีมตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งก็คือทีม IRAP Ararit จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เกมส์การแข่งขันเต็มไปด้วยความสนุกตื่นเต้นเร้าใจเนื่องจากผู้ชนะต้องสามารถชนะแบบ 2 ใน 3 เกมส์ ในเมทช์แรกทีมหอยหลอดสามารถชนะ Reunion ทีม IRAP Ararit ไปก่อน พอมาในเมทช์ที่สองทีม IRAP Ararit สามารถพลิกกลับมาชนะได้ ทำให้คะแนนเท่ากัน 1 ต่อ 1 เมทช์ ต้องมีการตัดสินในเมทช์ที่สามซึ่งทีมหอยหลอดก็สามารถกลับมาชนะได้ เป็นผลให้ทีมหอยหลอดชนะเลิศและเป็นตัวแทนประเทศไทยแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีด้วยการชนะ 2 ต่อ 1 เมทช์ การเตรียมตัวเพื่อเข้าแข่งขันหุ่นตามกติกาสะพานตำนานแห่งความรัก ณ ประเทศเกาหลี สำหรับทีมหอยหลอดนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากยากเย็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทั้งทีมไม่มีใครเคยเดินทางไปต่างประเทศเลย ประกอบกับต้องไปแข่งขันในนามตัวแทนประเทศไทยที่สร้างความกดดันอย่างสูงให้กับทีมที่พึ่งจะมีประสบการณ์ในการแข่งขันเพียง 3 ปี ทีมหอยหลอดต้องรีบพัฒนาตัวเองอย่างสูงในขณะที่มีระยะเวลาเวลาเป็นตัวกำหนด ซึ่งตามกติกาทีมหอยหลอดต้องส่งหุ่นยนต์ไปทางพัสดุก่อนการแข่งขันจริง 1 เดือน ยิ่งบีบระยะเวลาให้สั้นลงไปอีก แต่โชคดีที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดสร้างหุ่นยนต์จากกลุ่มบริษัทฮอนด้า ประเทศไทยจำกัด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดสร้างหุ่นยนต์จากบริษัท NTN Bearing จำกัด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดสร้างหุ่นยนต์จากบริษัทฉั่วฮะเส็งจำกัด(น้ำปลาตราหอยหลอด) รวมถึงได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดสร้างหุ่นยนต์และคำแนะนำทางเทคนิคจากบริษัทไดม่อนพลาสจำกัด ในส่วนของทีมหุ่นยนต์อาชีวศึกษาก็ได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคจากทีมซุ้มกอ 2004 วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ได้รับคำแนะนำด้านเทคนิคจากทีมกล้วยตาก 2004 จากวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ได้รับความอนุเคราะห์เป็นคู่ซ้อมแข่งขันจากทีมออริจิน วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช ทีม Dragonbot วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์และทีมพรหมมณี วิทยาลัยการอาชีพนครนายก ทีมหอยหลอดได้เลือกรูปแบบการแข็งขันที่เน้นการเอาชนะน๊อกเอาท์เป็นหลัก(ในการแข่งขันกติกานี้จะเรียกว่าการชนะ Reunion) โดยออกแบบหุ่นยนต์ที่เน้นความสำคัญไปที่หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการทำคะแนนของคู่แข่งขันเป็นส่วนสำคัญ โดยการออกแบบให้หุ่นยนต์ป้องกันออกไปป้องกันการทำคะแนนของคู่แข่งภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 วินาที แล้วให้หุ่นยนต์ทำคะแนนค่อยๆ ทำคะแนนตามด้วยความแน่นอน ระบบการจัดการแบตเตอรี่ก็เป็นปัญหาที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น เนื่องจากในขณะนั้นทีมหอยหลอดใช้แบตเตอรี่แบบเซลแห้ง ใช้เครื่องชาร์ตแบบชาร์ตช้า แต่ต้องพบกับปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าของประเทศเกาหลีที่ไม่เหมือนเมืองไทย จึงต้องเตรียมหม้อแปลงระบบไฟฟ้าไปด้วย การเดินทางไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นเรื่องที่ไม่สนุกอย่างที่นึกคิด ในวันแรกที่ไปถึงกรุงโซลทีมงานซึ่งผ่านการเตรียมตัวฝึกซ้อมอย่างอดหลับอดนอนต้องมาเจอกับสภาพเวลาที่เหลื่อมกันของสองประเทศ สภาพอากาศก็แตกต่าง ความเครียดจากการเตรียมตัวแข่งขัน ผนวกกับความอ่อนล้าจากการเดินทางขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรก เป็นผลให้ทีมงานต้องปรับตัวเป็นระยะเวลาพอสมควร ยังไม่สามารถทำอะไรได้มาก วันที่สองในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นการประกอบหุ่นยนต์ ลงทะเบียนทดสอบสนาม และการประชุมการประชุมสรุปกติกา ทีมหอยหลอด จากประเทศไทยถูกจับตามองเป็นพิเศษ มีกรรมการเดินมาดูหุ่นยนต์ป้องกันหลายครั้ง แต่ติดปัญหาเรื่องภาษา ซึ่งประเทศเกาหลีไม่ค่อยนิยมใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลาง ในขณะที่ผู้ช่วยทีมก็ไม่ค่อยเข้าใจคำศัพท์ต่างๆ ด้านเทคนิคทำให้ทีมไม่ทราบจุดบกพร่องตามกติการะบุไว้ ทีมหอยหลอดก็ทำการเตรียมตัวแข่งตามแบบเดิมที่เมืองไทย แต่หุ่นยนต์ทุกตัวสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ทุกประการ วันที่สามในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นการแข่งขันรอบแรก ทีมหอยหลอดจากประเทศไทยจับสลากอยู่สายเดียวกับทีมหุ่นยนต์จากประเทศอียิป และทีมหุ่นยนต์จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีทีมที่ 2 ทีมหอยหลอดสามารถเอาชนะ Reunion ทั้งสองทีมได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นนัก ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีม ซึ่งจะแข่งขันแบบแพ้คัดออกเพื่อเข้าสู่รอบ 4 ทีมต่อไป ซึ่งจะต้องเจอกับทีม COWBOY จากประเทศจีน ก่อนการแข่งขันทีมหอยหลอด จากประเทศไทยเริ่มสังเกตว่ายิ่งถูกจับตามองเป็นพิเศษ มีกรรมการเดินมาดูหุ่นยนต์หลายครั้ง พร้อมกับคู่แข่งขันคือทีม COWBOY จากประเทศจีน แต่กรรมการก็ไม่ได้พูดอะไรมาก คงบอกแต่เพียงให้เราปล่อยหุ่นยนต์ทันทีหลังจากการสตาร์ทซึ่งเราก็ทำอยู่แล้ว ซึ่งเราก็คิดว่าคงไม่มีอะไร เมื่อสัญญาณการปล่อยหุ่นยนต์มาถึงหุ่นยนต์ตัวป้องกันของเราสามารถทำงานได้ตามจุดประสงค์ ในขณะที่หุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมเรากำลังหยิบชิ้นงานอยู่นั้นปรากฏว่าได้มีอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมจากประเทศจีนมาดึงเสื้อผู้นำทางของทีมหอยหลอด แต่กรรมการก็ไม่ได้ว่าอะไร พอหุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมเรากำลังหยิบชิ้นงานได้สำเร็จ ผู้บังคับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมจากประเทศจีน บังคับหุ่นยนต์มาชนเท้าของ ผู้บังคับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมเรา กรรมการก็ไม่ได้ว่าอะไร ทางเราได้แต่เดินหนีแต่ในจังหวะการเปิดเท้าขึ้นของผู้บังคับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมเรา กรรมการรีบวิ่งมาโบกธงแล้วตัดสินให้ทีมเราแพ้ Disqualifier ทันที สร้างความงุนงงให้กับทีมงานอย่างมาก ว่าเกิดอะไรขึ้น เราได้ทำการประท้วงการตัดสินไปแต่ไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น ทีมงานจึงต้องยอมรับผลการแข่งขันที่ทำได้สูงสุดที่อันดับ 1 ใน 8 ทีมสุดท้าย แต่จากผลการแข่งขันที่ผ่านมาทีมหุ่นยนต์หอยหลอด วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามจากประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล Samsung Award จากการแข่งขันครั้งนี้
ปี 2546 ทีมหอยหลอดพัฒนาด้านเทคนิคโครงสร้าง และระบบกลไก โดยการศึกษาจากทีมกล้วยตาก วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ประดิษฐ์หุ่นยนต์เข้าแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ชิงชนะเลิศระดับภาค ประจำปีการศึกษา 2545 ซึ่งจัดโดยกรมอาชีวศึกษา ณ โรงยิมเทศบาลกระบี่ จ.กระบี่ โดยทีมหอยหลอดส่งทีมเข้าแข่งขัน 2 ทีม (ทีมหอยหลอด Again 1 และทีมหอยหลอด Again 2) แม้การแข่งขันในครั้งนี้หุ่นยนต์ของทีมหอยหลอดจะเป็นหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ยังมีขอบกพร่องในหลายจุดเช่นการวางแผนในการแข่งขัน หรือแม้แต่การบริหารจัดการทีม จึงได้รับเพียงรางวัลชมเชย(ตกรอบ 8 ทีมสุดท้าย) ช่วงปลายปี 2546 ทีมหอยหลอดได้เข้าแข่งขันหุ่นยนต์แทร็กเส้นเนื่องในงานวันเยาวชนแห่งชาติ ระดับประเทศซึ่งจัด ณ สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน เพื่อพัฒนาเทคนิคการประดิษฐ์หุ่นยนต์แบบ Line Tracking โดยพบกับทีมต่างๆ จากมหาวิทยาลัย และสถาบันอาชีวศึกษาเกือบ 20 ทีม ปรากฏว่าได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ปี 2547 หลังจากตรวจสอบปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ทีมหอยหลอดได้มีการพัฒนาทีมโดยได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ธวัชชัย หิรัญพต แผนกวิชาช่างยนต์ ซึ่งเข้ามาเสริมทีมในส่วนของการวางแผนการแข่งขัน รวมถึงคุณพรชัย สุมังคละสมบัติที่ยินดีช่วยเหลือในเรื่องงานธุรการ(ผู้จัดการทีม) ทีมหอยหลอดพร้อมแล้วสำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์ตามกติกาที่ถูกออกแบบโดยประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีชื่อกติกาแปลเป็นภาษาไทยว่าการแข่งขันหุ่นยนต์สะพานตำนานแห่งความรัก ในสนามแรกของการแข่งขันเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับภาค(ภาคกลาง) ซึ่งจัดที่บริเวณริมแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร ทีมหอยหลอดที่ออกแบบหุ่นยนต์โดยเน้นความสำคัญไปที่หุ่นยนต์บังคับด้วยมือเป็นหลัก(ยังประดิษฐ์หุ่นยนต์อัตโนมัติไปเก่ง) แต่ก็สามารถชดเชยจุดอ่อนต่างๆ ด้วยการออกแบบเกมส์การแข่งขัน เป็นผลให้สามารถคว้าแชมป์อาชีวศึกษาระดับภาค(ภาคกลาง)มาครองได้สำเร็จ โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งขันชิงชนะเลิศที่เหนือกว่าในส่วนของหุ่นยนต์อัตโนมัตินั่นคือทีม Dragonbot จากวิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ เป็นแมทช์การแข่งขันชิงชนะเลิศที่พลิกความคาดหมายและสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อย่างมาก โดยทีมหอยหลอดได้รับการจับตามองในฐานะทีมน้องใหม่ที่เป็นม้ามืดในเขตภาคกลาง จากความสำเร็จที่สามารถคว้าแชมป์อาชีวศึกษาระดับภาค(ภาคกลาง)มาครองทำให้ทีมหอยหลอดมีสิทธิ์เข้าแข่งขันได้ในอีกสองสนามการแข่งขันนั่นคือ การแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์อาชีวศึกษาระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2546 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้อง MCC-Hall ห้างสรรพสินค้า The Mall บางกะปิ ช่วงระยะเวลาคือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ อีกสนามการแข่งขันหนึ่งคือ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2547 ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ของปี 2547 เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนของปีเดียวกัน การเตรียมตัวเพื่อเข้าแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์อาชีวศึกษาระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2546 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้อง MCC-Hall ห้างสรรพสินค้า The Mall บางกะปิของทีมหอยหลอดปรากฏปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ประการแรกคือช่วงระยะเวลาที่แข่งขันตรงกับกำหนดวันแต่งงานของหัวหน้าทีมหอยหลอดคืออาจารย์สมชาย สูญสิ้นภัย ซึ่งอุทิศเวลาให้กับการแข่งขันหุ่นยนต์จนวินาทีสุดท้าย อุปสรรคที่สำคัญข้อที่สองคือช่วงระยะเวลาที่แข่งขันตรงกับกำหนดวันแข่งขันรถประหยัดพลังงานพอดี เป็นผลให้ทีมหอยหลอดขาดกำลังสำคัญในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการวางแผนการแข่งขัน อุปสรรคสำคัญอีกข้อคือช่วงระยะเวลาที่แข่งขันเป็นช่วงระยะเวลาการซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรของอาจารย์ปิติกร ขำอ่อน ทำให้ทีมหอยหลอดขาดกำลังสำคัญในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านโปรแกรมไปอีกคน แต่ยังมีอาจารย์สรยุทธ อุ่นใจ อาจารย์ประจำแผนกวิชาช่างเชื่อมและโลหะแผ่นที่เข้ามาเสริมทีมในส่วนของระบบกลไก ผลงานในแมทช์การแข่งขันนี้ของทีมหอยหลอดจึงไม่อาจถึงจุดสูงสุดของการแข่งขัน แต่สามารถเข้ามายืนอยู่ในตำแหน่ง 8 ทีมสุดท้ายของอาชีวศึกษาระดับประเทศ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงชนะเลิศประเทศไทย ประจำปี 2547 ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ของปี 2547 เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ลักษณะของการแข่งขันจะเชิญทีมที่ได้แชมป์ระดับภาคและรองแชมป์อาชีวศึกษาระดับภาค ทั้งหมด 5 ภาครวมทั้งหมด 10 ทีมมาแข่งขันจนได้ตัวแทนอาชีวศึกษา มาแข่งขันหาตัวแทนประเทศไทยกับตัวแทนทีมจากสถาบันอุดมศึกษาซึ่งผ่านการแข่งขันคัดเลือกมาจาก 16 ทีมอุดมศึกษา ทีมหอยหลอดสามารถฝ่าฟันอุปสรรคจนสามารถชิงต่ำแหน่งตัวแทนอาชีวศึกษาได้สำเร็จ โดยการชนะน๊อกเอาท์(ในการแข่งขันกติกานี้จะเรียกว่าการชนะ Reunion)ทีมพรหมมณี จากวิทยาลัยการอาชีพนครนายก ทำให้ทีมหอยหลอดต้องเข้าชิงตัวแทนจากประเทศไทยกับทีมตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งก็คือทีม IRAP Ararit จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เกมส์การแข่งขันเต็มไปด้วยความสนุกตื่นเต้นเร้าใจเนื่องจากผู้ชนะต้องสามารถชนะแบบ 2 ใน 3 เกมส์ ในเมทช์แรกทีมหอยหลอดสามารถชนะ Reunion ทีม IRAP Ararit ไปก่อน พอมาในเมทช์ที่สองทีม IRAP Ararit สามารถพลิกกลับมาชนะได้ ทำให้คะแนนเท่ากัน 1 ต่อ 1 เมทช์ ต้องมีการตัดสินในเมทช์ที่สามซึ่งทีมหอยหลอดก็สามารถกลับมาชนะได้ เป็นผลให้ทีมหอยหลอดชนะเลิศและเป็นตัวแทนประเทศไทยแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีด้วยการชนะ 2 ต่อ 1 เมทช์ การเตรียมตัวเพื่อเข้าแข่งขันหุ่นตามกติกาสะพานตำนานแห่งความรัก ณ ประเทศเกาหลี สำหรับทีมหอยหลอดนั้นเป็นเรื่องที่ลำบากยากเย็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทั้งทีมไม่มีใครเคยเดินทางไปต่างประเทศเลย ประกอบกับต้องไปแข่งขันในนามตัวแทนประเทศไทยที่สร้างความกดดันอย่างสูงให้กับทีมที่พึ่งจะมีประสบการณ์ในการแข่งขันเพียง 3 ปี ทีมหอยหลอดต้องรีบพัฒนาตัวเองอย่างสูงในขณะที่มีระยะเวลาเวลาเป็นตัวกำหนด ซึ่งตามกติกาทีมหอยหลอดต้องส่งหุ่นยนต์ไปทางพัสดุก่อนการแข่งขันจริง 1 เดือน ยิ่งบีบระยะเวลาให้สั้นลงไปอีก แต่โชคดีที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดสร้างหุ่นยนต์จากกลุ่มบริษัทฮอนด้า ประเทศไทยจำกัด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดสร้างหุ่นยนต์จากบริษัท NTN Bearing จำกัด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดสร้างหุ่นยนต์จากบริษัทฉั่วฮะเส็งจำกัด(น้ำปลาตราหอยหลอด) รวมถึงได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุในการจัดสร้างหุ่นยนต์และคำแนะนำทางเทคนิคจากบริษัทไดม่อนพลาสจำกัด ในส่วนของทีมหุ่นยนต์อาชีวศึกษาก็ได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคจากทีมซุ้มกอ 2004 วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ได้รับคำแนะนำด้านเทคนิคจากทีมกล้วยตาก 2004 จากวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก ได้รับความอนุเคราะห์เป็นคู่ซ้อมแข่งขันจากทีมออริจิน วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช ทีม Dragonbot วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์และทีมพรหมมณี วิทยาลัยการอาชีพนครนายก ทีมหอยหลอดได้เลือกรูปแบบการแข็งขันที่เน้นการเอาชนะน๊อกเอาท์เป็นหลัก(ในการแข่งขันกติกานี้จะเรียกว่าการชนะ Reunion) โดยออกแบบหุ่นยนต์ที่เน้นความสำคัญไปที่หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการทำคะแนนของคู่แข่งขันเป็นส่วนสำคัญ โดยการออกแบบให้หุ่นยนต์ป้องกันออกไปป้องกันการทำคะแนนของคู่แข่งภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 วินาที แล้วให้หุ่นยนต์ทำคะแนนค่อยๆ ทำคะแนนตามด้วยความแน่นอน ระบบการจัดการแบตเตอรี่ก็เป็นปัญหาที่สำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น เนื่องจากในขณะนั้นทีมหอยหลอดใช้แบตเตอรี่แบบเซลแห้ง ใช้เครื่องชาร์ตแบบชาร์ตช้า แต่ต้องพบกับปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าของประเทศเกาหลีที่ไม่เหมือนเมืองไทย จึงต้องเตรียมหม้อแปลงระบบไฟฟ้าไปด้วย การเดินทางไปแข่งขันหุ่นยนต์ที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นเรื่องที่ไม่สนุกอย่างที่นึกคิด ในวันแรกที่ไปถึงกรุงโซลทีมงานซึ่งผ่านการเตรียมตัวฝึกซ้อมอย่างอดหลับอดนอนต้องมาเจอกับสภาพเวลาที่เหลื่อมกันของสองประเทศ สภาพอากาศก็แตกต่าง ความเครียดจากการเตรียมตัวแข่งขัน ผนวกกับความอ่อนล้าจากการเดินทางขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรก เป็นผลให้ทีมงานต้องปรับตัวเป็นระยะเวลาพอสมควร ยังไม่สามารถทำอะไรได้มาก วันที่สองในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นการประกอบหุ่นยนต์ ลงทะเบียนทดสอบสนาม และการประชุมการประชุมสรุปกติกา ทีมหอยหลอด จากประเทศไทยถูกจับตามองเป็นพิเศษ มีกรรมการเดินมาดูหุ่นยนต์ป้องกันหลายครั้ง แต่ติดปัญหาเรื่องภาษา ซึ่งประเทศเกาหลีไม่ค่อยนิยมใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลาง ในขณะที่ผู้ช่วยทีมก็ไม่ค่อยเข้าใจคำศัพท์ต่างๆ ด้านเทคนิคทำให้ทีมไม่ทราบจุดบกพร่องตามกติการะบุไว้ ทีมหอยหลอดก็ทำการเตรียมตัวแข่งตามแบบเดิมที่เมืองไทย แต่หุ่นยนต์ทุกตัวสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ทุกประการ วันที่สามในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นการแข่งขันรอบแรก ทีมหอยหลอดจากประเทศไทยจับสลากอยู่สายเดียวกับทีมหุ่นยนต์จากประเทศอียิป และทีมหุ่นยนต์จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีทีมที่ 2 ทีมหอยหลอดสามารถเอาชนะ Reunion ทั้งสองทีมได้อย่างไม่ลำบากยากเย็นนัก ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีม ซึ่งจะแข่งขันแบบแพ้คัดออกเพื่อเข้าสู่รอบ 4 ทีมต่อไป ซึ่งจะต้องเจอกับทีม COWBOY จากประเทศจีน ก่อนการแข่งขันทีมหอยหลอด จากประเทศไทยเริ่มสังเกตว่ายิ่งถูกจับตามองเป็นพิเศษ มีกรรมการเดินมาดูหุ่นยนต์หลายครั้ง พร้อมกับคู่แข่งขันคือทีม COWBOY จากประเทศจีน แต่กรรมการก็ไม่ได้พูดอะไรมาก คงบอกแต่เพียงให้เราปล่อยหุ่นยนต์ทันทีหลังจากการสตาร์ทซึ่งเราก็ทำอยู่แล้ว ซึ่งเราก็คิดว่าคงไม่มีอะไร เมื่อสัญญาณการปล่อยหุ่นยนต์มาถึงหุ่นยนต์ตัวป้องกันของเราสามารถทำงานได้ตามจุดประสงค์ ในขณะที่หุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมเรากำลังหยิบชิ้นงานอยู่นั้นปรากฏว่าได้มีอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมจากประเทศจีนมาดึงเสื้อผู้นำทางของทีมหอยหลอด แต่กรรมการก็ไม่ได้ว่าอะไร พอหุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมเรากำลังหยิบชิ้นงานได้สำเร็จ ผู้บังคับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมจากประเทศจีน บังคับหุ่นยนต์มาชนเท้าของ ผู้บังคับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมเรา กรรมการก็ไม่ได้ว่าอะไร ทางเราได้แต่เดินหนีแต่ในจังหวะการเปิดเท้าขึ้นของผู้บังคับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือของทีมเรา กรรมการรีบวิ่งมาโบกธงแล้วตัดสินให้ทีมเราแพ้ Disqualifier ทันที สร้างความงุนงงให้กับทีมงานอย่างมาก ว่าเกิดอะไรขึ้น เราได้ทำการประท้วงการตัดสินไปแต่ไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น ทีมงานจึงต้องยอมรับผลการแข่งขันที่ทำได้สูงสุดที่อันดับ 1 ใน 8 ทีมสุดท้าย แต่จากผลการแข่งขันที่ผ่านมาทีมหุ่นยนต์หอยหลอด วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามจากประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล Samsung Award จากการแข่งขันครั้งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น